หัวข้อ   “ความเห็นต่อมาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ ของ ธปท.”
                 นักเศรษฐศาสตร์ 40 ใน 50 คน หนุนมาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ
ของ ธปท. ชี้ กันไว้ดีกว่าแก้
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์)  เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์  วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของ
ประเทศ จำนวน 22 แห่ง เรื่อง “
ความเห็นต่อมาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ ของ ธปท.
โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12 - 15 พ.ย. ที่ผ่านมา   พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 30 ใน 50 คน ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณฟองสบู่
ในภาคอสังหาริมทรัพย์   แม้ว่าสัญญาณดังกล่าวจะยังไม่เด่นชัดนักเมื่อเทียบกับปัญหาฟองสบู่
ในช่วงวิกฤติปี 40   เมื่อสอบถามถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ใน
ปีหน้า (พ.ศ. 2554) หาก ธปท. ไม่ออกมาตรการควบคุมใดๆ   นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 28 คน
ยังคงเชื่อว่าโอกาสการเกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับต่ำ   ขณะที่จำนวน 17 คน
มองว่ามีโอกาสสูงที่จะเกิดฟองสบู่ (และในจำนวนนี้ 10 คนมองว่ามาตรการของ ธปท. ที่ออกมา
ยังมีความเข้มข้นไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาฟองสบู่)
 
                 นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความเห็นที่มีต่อ มาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ ของ ธปท. นักเศรษฐศาสตร์มากถึง
40 ใน 50 คน สนับสนุนการดำเนินมาตรการดังกล่าวของ ธปท. โดยมองว่า มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่ออกมาป้องกัน
ซึ่งดีกว่ามาแก้ในภายหลัง เพราะอาจจะไม่ทันการณ์   อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการและผู้ซื้อ ซึ่งจะส่งผล
ในแง่จิตวิทยา และเป็นการรักษาเสถียรภาพในระยะยาวอีกด้วย
   
                 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้กล่าวชื่นชมการดำเนินมาตรการของ ธปท. ในครั้งนี้ว่าเป็นมาตรการที่ดี
ไม่เข้มงวดจนเกินไป   แต่สามารถส่งผลกระทบในแง่จิตวิทยาต่อตลาดได้ อีกทั้งยังมีการขอความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน   อันช่วยให้ตลาดมีการซึมซับข่าวในระดับหนึ่งก่อนการประกาศมาตรการออกมา
   
                 สำหรับในปีหน้า (พ.ศ. 2554) นักเศรษฐศาสตร์ยังคงเป็นห่วงการเกิดฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์
ตลาดตราสารหนี้   ตลาดทองคำ   ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์   รวมถึง ธุรกิจอสังหาฯ  ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการท่องเที่ยว
อันเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐ
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นเกี่ยวกับ สัญญาณของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์

 
จำนวน (คน)
ร้อยละ
มีสัญญาณ ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์
30
60.0
ไม่มีสัญญาณ ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์
17
34.0
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
3
6.0
รวม
50
100.0
 
 
             2. ความเห็นเกี่ยวกับ โอกาสในการเกิดปัญหาฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในปีหน้า (พ.ศ. 2554)
                 หาก ธปท. ไม่ออกมาตรการควบคุมสินเชื่อภาคอสังหาฯ


 
จำนวน (คน)
ร้อยละ
มีโอกาสสูง ต่อการเกิดฟองสบู่ และ
  - มาตรการมีความเข้มข้น เพียงพอ
  ที่จะแก้ปัญหาฟองสบู่
จำนวน   5 คน
  - มาตรการมีความเข้มข้น ไม่เพียงพอ
  ที่จะแก้ปัญหาฟองสบู่
จำนวน 10 คน
  - ไม่แสดงความเห็น
จำนวน   2 คน
17
34.0
มีโอกาสน้อย ต่อการเกิดฟองสบู่
28
56.0
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
5
10.0
รวม
50
100.0
 
 
             3. ความเห็นเกี่ยวกับ มาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ ของ ธปท.

 
จำนวน (คน)
ร้อยละ
เห็นด้วย
เนื่องจาก
  1. เป็นมาตรการที่ออกมาป้องกันที่ดีกว่ามาแก้
    ภายหลัง เพราะอาจจะไม่ทันการณ์
  2. เป็นการส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการและ
    ผู้ซื้อ ซึ่งจะส่งผลในแง่จิตวิทยา
  3. เป็นการรักษาเสถียรภาพในระยะยาว ช่วย
    กลั่นกรองคุณภาพการก่อหนี้
40
80.0
ไม่เห็นด้วย
เนื่องจาก  ยังไม่ถึงเวลา และภาคอสังหาฯ ยังไม่ได้มี
             ภาวะฟองสบู่ อีกทั้งจะกระทบกับผู้บริโภคได้
5
10.0
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
5
10.0
รวม
50
100.0
 
 
             4. ความเห็นเกี่ยวกับ ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟองสบู่ในปีหน้า
                 (พ.ศ. 2554)

             นักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ข้อสังเกตุว่าการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐว่าจะทำให้มีเงินทุน
ไหลเข้ามายังภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอนและจะก่อให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในการลงทุนในตลาด
หลักทรัพย์ ตลาดตราสารหนี้ ตลาดทองคำ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึง ธุรกิจอสังหาฯ  ในส่วนที่
เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการท่องเที่ยว
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง  จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี)  ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 22 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร    สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
               ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา    ธนาคารไทยพาณิชย์     ธนาคารนครหลวงไทย
               ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย    บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด
               บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย   สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร
               บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัย
               มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 12 - 15  พฤศจิกายน 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 พฤศจิกายน 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
22
44.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
21
42.0
             สถาบันการศึกษา
7
14.0
รวม
50
100.0
เพศ:    
             ชาย
26
52.0
             หญิง
24
48.0
รวม
50
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
2.0
             26 – 35 ปี
24
48.0
             36 – 45 ปี
13
26.0
             46 ปีขึ้นไป
12
24.0
รวม
50
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
2
4.0
             ปริญญาโท
38
76.0
             ปริญญาเอก
10
20.0
รวม
50
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
13
26.0
             6 - 10 ปี
16
32.0
             11 - 15 ปี
4
8.0
             16 - 20 ปี
6
12.0
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
11
22.0
รวม
50
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776